วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โรคและการรักษา ตอนที่ 2

โรคจุดขาว


จุดสีขาวนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 มม. ซึ่งเกิดจากโรคโปรโตชัวที่นิยมเรียกว่า อิ๊ด
โดยมากมักเกิดกับตัวปลาในช่วงฤดูหนาว อาการตามลำตัวและครีบของปลาจะมีจุด
สีขาวเกาะติดอยู่ปลามักมีอาการซึม หลบอยู่ตามมุมตู้และจำว่ายถูตัวตามกันตู้และ
ขอบตู้เป็นพักๆ


การรักษา
ใช้ตัวยาฟอร์มาลิน 15-25 ppm. ผสมกับมาลาไคล์กรีน 0.1 ppm. แช่ติดต่อกัน
3-5 วัน และควรรักษาอุณหภูมิของน้ำ อย่าให้ต่ำจนเกินไป


จาก : www.samud.com/aquarium/GoldenFish/disease/goldendisease2.asp

โรคและการรักษา ตอนที่ 1

วิธีการสังเกตปลาป่วย


ขณะที่ปลาป่วย ลักษณะของปลา และอาการว่ายน้ำจะผิดปกติ
ซึ่งสามารถสังเกตได้ดังนี้

1. ลักษณะการเคลื่อนไวของปลาที่เป็นโรคจะผิดปกติ มีอาการเชืองซึมอาจว่ายน้ำเสียดสี หรือถูกับตู้ หรือว่ายน้ำมาออกที่ผิวน้ำ โดยเฉพาะปลาที่มีปรสิตเกาะ

2. ปลาที่เป็นโรค ขณะว่ายน้ำจะไม่กางครีบออก ครีบอาจจะกร่อนแหว่งหายไป

3. เงือกนวมแดงเห็นชัดเจน เนื่องจากหายใจไม่สะดวก พยายามเปิดบิดเหงือกมากที่สุดเงือกอาจบวมจนถึงกระดูกเหงือก

4. มีเลือดออกตามเกล็ด หรือมีบาดแผลตามตัว

5. ปลาที่เป็นโรคจะมีสีซีดกว่าปกติ

6. ปลาขับเมือกออกมามากผิดปกติ น้ำมีสีขาวขุ่นภาชนะที่ใช้เลี้ยงปลามีเมือกจับ
เต็มไปหมด

7. เกล็ดพองลุกชัน ท้องโต ทั้งๆที่ปลาไม่ไม่ใช่ เรียกว่า ท้องมาร

8. ปลาผอมไม่ค่อยกินอาหร โดยปกติปลาทองจะเป็นปลาที่กินอาหารเก่ง และกินเกือบตลอดเวลาไม่หยุด ถ้าปลาไม่ยอมกินอาหารแสดงว่าปลาอาจป่วย แต่ถ้าช่วงอากาศหนาว หรืออากาศค่อนข้างเย็น ปลาจะไม่กินอาหารถือว่าเป็นเรื่องปกติ

9. ปลาเสียการทรงตัวเกิดจากถุงลมผิดปกติ อาจว่ายน้ำหมุนควง หรือว่ายน้ำแบบบังคับ
ทิศทางไม่ได้


จาก : www.samud.com/aquarium/GoldenFish/disease/goldendisease1.asp

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การเลี้ยงปลาทอง ตอนที่ 3

ปลาที่มีสง่าราศี
จะต้องใช้ประสบการณ์และชำนาญซึ่งเกิดจากการดูและสัมผัสปลามาพอสมควร
จึงจะบอกได้ว่าปลาตัวใดมีลักษณะเด่นหรือดูมีสง่างามกว่าอีกตัว กล่าวคือ
เป็นเรื่องนามธรรม ซึ่งการดูจะอาศัยการมองถึงลักษณะโดยรวมของปลาทั้งส่วนหัว
ลำตัวและหาง ซึ่งจะเห็นได้ว่าในการประกวดปลาบางตัวอาจจะมีครีบหางที่ไม่สวย
หรือครีบคดบางตัวสีไม่สดเหมือนอีกตัว แต่ยังได้อันดับดีกว่า ซึ่งทางกรรมการก็อาศัย
เกณฑ์การมองภาพรวมเช่นเดียวกัน

การว่ายน้ำของปลา
มีการเปรียบเปรยกันว่า" ปลาทองนั้นมีลีลาในการแหวกว่ายน้ำพลิ้วไหว
ดั่งชายกิโมโนของสาวญี่ปุ่นยามโบกสะบัด" ซึ่งหมายความว่า ในส่วนของ
ช่วงโคนหางหรืแที่เรียกว่าสะโพกของปลาในตอนที่ว่ายนั้นดูสวยงาม ดูปราดเปรียวและมีชีวิตชีวา

จาก : www.samud.com/aquarium/GoldenFish/goldenfishtakecareindex.asp

การเลี้ยงปลาทอง ตอนที่ 2

ดูรูปทรงและความสมดุล
การดูรูปทรงความสมดุลของปลา ต้องดูถึงลักษณะรูปร่างและส่วนประกอบใน
สรีระต่างๆของปลา ซึ่งเมื่อมองจากทางด้านบนในขณะที่ปลา่กำลังว่ายน้ำให้เริ่ม
พิจารณาโดยรวมอีดครั้งว่าปลามีลักษระการว่ายน้ำสมดุลดีหรือไม่

ความอ้วนและความแข็งแรงของตัวปลา
จะต้องมองที่ความกว้างของลำตัวและจะต้องสังเกตโคนหางร่วมกันไปด้วยว่า
ลักษณะตัวปลาที่ตัวใหญ่หรืออ้วนก็จะต้องมีโคนหางที่ใหญ่แข็งแรงสมดุลกับ
ตัวปลาซึ่งเมื่อมองจากมุมด้านบนต้องสังเกตจากความกว้างของลำตัว
ซึ่งจะต้องมีความอ้วนหนา บึกบึนได้รูปและมีโคนหางที่ใหญ่แข็งแรง

การเรียงแถวของเกล็ดอละความสวยงามขิงสีสันลวดลาย
การเรียงแถวของเกล็ดนั้นควรมีลักษณะการเรียงเป็นแนวเดียวกันไม่
กระจัดกระจายออกจากแถวเมื่อมองดูแล้วมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยเนียนตา
ในส่วนของสีสันบนตัวปลาจะเป็นสีที่สดเข้มมองดูแล้วสะดุดตาไม่ว่าจะเป็นสีแดง
หรือสีขาวในส่วนของลวดลายที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องของมุมมองส่วนตัว
ซึ่งจะต้องใช้ศิลปะและประสบการณ์เข้ามาประกอบด้วยส่วนหนึ่ง

จาก : www.samud.com/aquarium/GoldenFish/goldenfishtakecareindex.asp

การเลี้ยงปลาทอง ตอนที่ 1

การเลี้ยงปลาทอง

1.ลักษณะทั่วไป เป็นปลาน้ำจืดมีรูปร่างสวยงามแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ที่เป็นราชาแห่งปลาทองได้แก่ปลาทองพันธุ์หัวสิงโต

2.ชาติแรกที่ทำการเลี้ยงปลาทองและเพาะผสมพันธุ์ ได้แก่ชาวจีนประมาณ
ปี 1161-1550 ในหมู่ของขุนนางและในราชสำนัก

3.การเลี้ยงปลาทองดังกล่าวเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง มีสีสดใสต้องคำนึงถึงสถานที่เลี้ยงและภาชนะ ที่ยอมรับโดยทั่วไปก็จะเป็นอ่างซีเมนต์และตู้กระจกสี่เหลี่ยม ควรเลือกตู้กระจกที่ที่มีขนาดบรรจุน้ำจำนวน 40 ลิตรเป็นอย่างน้อย โดยใช้เลี้ยงปลาขนาดกลางจะได้ประมาณ 12 ตัวเพื่อให้มีที่ว่างมากพอเพื่อตกแต่งให้เป็นธรรมชาติและติดตั้งปั๊มอากาศ อื่นๆอีกตามต้องการ

4.การเลี้ยงปลาทองในบ่อหรืออ่างนอกบ้าน
การเพาะเลี้ยงปลาทองแบบนี้ต้องคำนึงถึงแสงสว่าง ไม่เป็นที่อับแสง
หากแสงมากเกินไปควรใช้ตาข่ายกรองแสงประมาณ 60% ปิดปากบ่อ
บ่อไม่ควรอยู่ใกล้แหล่งสารเคมีที่มีพิษ
บ่อไม่ควรอยู่ตรงชายคาน้ำตก ควรระวังศัตรูปลา เช่นแมว นก
บ่อเลี้ยงควรสร้างให้ลาดเอียง เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำออกให้หมด

5.การให้อาหารปลาทอง
อาหารสำเร็จรูป ควรให้อาหารวันละ 1 – 2 ครั้ง
อาหารเสริม
อาหารธรรมชาติ เช่นลูกน้ำ หนอนแดง ฯลฯ

จาก : www.samud.com/aquarium/GoldenFish/goldenfishtakecareindex.asp

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สายพันธุ์และแหล่งกำเหนิดของปลาทอง ตอนที่ 7


ชื่อไทย ทองออแรนดา
ชื่ออังกฤษ Oranda
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus
แหล่งกำเนิด ประเทศจีน

ปลาทองออแรนดาเป็นปลาทองที่มีช่วงลำตัวยาว ครีบทุกครีบยาว โดยเฉพาะ ครีบหางจะยาวเป็นพวงสวยงาม บริเวณหัวอาจจะมีวุ้นหรือไม่มีก็ได้ เป็นปลาที่สามารถ เจริญเติบโตมีขนาดใหญ่กว่าปลาทองชนิดอื่น ปลาชนิดนี้เลี้ยงง่ายเป็นที่รู้จักทั่วไป กิน อาหารจำพวกลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล อาหารเม็ดสลับกันไป เลี้ยงรวมกับปลาทองชนิดอื่นได้

จาก : http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php

วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สายพันธุ์และแหล่งกำเหนิดของปลาทอง ตอนที่ 6


ชื่อไทย ทองเกล็ดแก้ว
ชื่ออังกฤษ Peal Scale Gold Fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius aruatus
แหล่งกำเนิด ประเทศจีน

ปลาทองเกล็ดแก้วมีลักษณะเด่นอยู่ที่ลำตัวป้อมสั้น ส่วนมากจะกลม เกล้ดจะ หนานูนขึ้นแตกต่างกับปลาทองพันธ์อื่น ๆ ปลาที่มีลักษณะดีเกล็ดควรจะเรียงเป็นระเบียบ ส่วนหัวอาจมีวุ้นหรือไม่มีก็ได้ ปลาทองเกล็ดแก้วเป็นปลาทองที่ต้องการการดุแลเอาใจใส่ เป็นพิเศษ เป็นปลาที่ค่อนข้างจะบอบบาง กินอาหารพวกลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล อาหารเม็ด ไม่ควรเลี้ยงปนกับปลาชนิดอื่น

จาก : http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php

สายพันธุ์และแหล่งกำเหนิดของปลาทอง ตอนที่ 5


ชื่อไทย ทองตาลูกโป่ง
ชื่ออังกฤษ Buble eye gold fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus
แหล่งกำเนิด ประเทสจีน

ปลาทองตาลูกโป่งเป็นปลาที่มีลักษณะเด่นเป็นที่สังเกตได้ง่ายตรงที่มีตาใหญ่ คล้ายลูกโป่ง ทำให้ปลาชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันดี ปลาชนิดนี้มีลำตัวยาว ปกติจะไม่มีครีบหลัง การที่มีตาขนาดใหญ่ทำให้ว่ายน้ำได้เชื่องช้า คนส่วนใหญ่ชอบซื้อปลาที่มีขนาดตาใหญ่ 2 ข้างเสมอกัน การเลี้ยงปลาชนิดนี้ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นปลาที่เปราะบาง มีจุดอ่อนที่ตา ไม่ควรเลี้ยงกับปลาที่ดุร้ายอื่นๆ กินลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล และอาหารสำเร็จ

จาก : http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สายพันธุ์และแหล่งกำเหนิดของปลาทอง ตอนที่ 4


ชื่อไทย ทองเล่ห์
ชื่ออังกฤษ Telescope black moor
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus
แหล่งกำเนิด ประเทศจีน

ปลาทองเลห์ เป็นปลาที่มีลักษณะเด่นที่มีลำตัวสีดำสนิทแม้กระทั่งครีบ ทุกครีบ ปลาชนิดนี้นับว่าเป็นที่นิยมเลี้ยงกันพอสมควร เป็นปลาทองที่มีตาโตโปน ออกมา ครีบหางบานใหญ่ บางชนิดมีชื่อเรียกว่า เล่ห๋ตุ๊กตา หรือเล่ห์หางผีเสื้อ เนื่องจากครีบหางแผ่กว้างสวยงามคล้ายผีเสื้อ จัดว่าเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้สง่างาม น่ารัก เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายชอบอาหารพวกลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล หนอนแดงและอาหารสำเร็จรูป สามารถเลี้ยงปนกับปลาทองชนิดอื่นได้

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/

สายพันธุ์และแหล่งกำเหนิดของปลาทอง ตอนที่ 3


ชื่อไทย ชูบุงกิง
ชื่ออังกฤษ Speckled gold fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus

ปลาทองชุงบุงกิง หรือตลาดค้าปลาสวยงาม เรียกว่า ชูบานกิ้น เป็นปลาทองที่มี ลักษณะเด่นที่มีครีบหางเดี่ยวแยกเป็น 2 แฉก ลำตัวเรียวยาว ลำตัวส่วนมากมีสีส้ม ส้มแดง แดงขาว อาจมีสีดำประบ้าง ปลาทองชนิดนี้เลี้ยงง่าย เป็นปลาที่มีความทนทานมาก ว่ายน้ำ ได้ปราดเปรียว กินอาหารเก่ง กินได่แทบทุกประเภท ปลาทองชุงบุงกิงเทื่อเลี้ยงอยู่ในบ่อ ดูเผิน ๆ จะคล้ายกับปลาคาร์ปมาก บางตัวมีสีสดสวยกว่าปลาคาร์ป ปลาชนิดนี้จึงเป็น ที่นิยมเลี้ยงกันมากชนิดหนึ่ง

จาก : http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php

สายพันธุ์และแหล่งกำเหนิดของปลาทอง ตอนที่ 2


ชื่อไทย ริวกิ้น
ชื่ออังกฤษ Veiltail
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carrasius auratus
แหล่งกำเนิด ประเทศจีน

ปลาทองริ้วกิ้นเป็นปลาทองที่นิยมของผู้เลี้ยงปลา เนื่องจากมีรูปทรงสวยงาม ลำตัวป้อมสั้น ท้องใหญ่ หางยาวเป็นพวง ส่วนหัวสูง ลำตัวเป็นสีส้ม หรือส้มแดงปนขาว เวลาว่ายน้ำจะเป็นถ่วงท่าที่ดูสง่างาม ปลาชนิดนี้มีทั้งที่สั่งมาจากประเทศญี่ปุ่นและเพาะพันธ์ ขึ้นเองในประเทศ ปลาจากญี่ปุ่นจะมีรูปร่างและสีดีกว่าของไทยแต่มีราคาสูงกว่าของไทยมาก ตู้ที่เลี้ยงปลาชนิดนี้ต้องมีน้ำใสสะอาด ไม่ควรให้น้ำเย็นเกินไป ปลาริ้วกิ้นชอบกินลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล และอาหารสำเร็จ

จาก : http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php

สายพันธุ์และแหล่งกำเหนิดของปลาทอง ตอนที่ 1


ชื่อไทย ทองหัวสิงห์
ชื่ออังกฤษ Lion head gold fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carasius auratuss
แหล่งกำเนิด ประเทศจีน

ปลาทองหัวสิงห์เป็นปลาทองชนิดที่ได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้เลี้ยงปลา ปลาชชนิดนี้มีรูปทรงสง่างาม มีอยู่ 2 สายพันธุ์คือ สิงค์จีนและสิงห์ญี่ปุ่น สิงห์จะมีลักษณะ หัวใหญ่ส่วนใหญ่จะมีวุ้นหนา ลำตัวยาว สิงห์ญี่ปุ่นส่วนหัวจะเล็กกว่าส่วนใหญ่ไม่มีวุ้น ลำตัวสั้น หลังจะโค้งมน หางสั้นและเชิดขึ้นดูสง่างาม ปลาทองหัวสิงห์เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินลูกน้ำ ไรแดง ไข่น้ำ การเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้ได้ดีควรเลี้ยงในอ่างตื้น ๆ ลึกไม่เกิน 8 นิ้ว จะทำให้ปลามีรูปร่างสวยงาม

จาก : http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php

ปลาทอง (Golden Fish)


ปลาทอง เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงต่อในยุโรป
เมื่อศตวรรษที่ 17 และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกาในศตวรรษที่ 19 ชาวจีนและญี่ปุ่นรับ
เป็นชาติแรกที่รู้จักวิธีการผสมพันธุ์ปลาทอง ซึ่งได้ทำกันมานานแล้วและมีการพัฒนามา
เรื่องได้ปลาทองลูกผสมที่น่าสนใจ มีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำ
และสีขาวแม้กระทั้งปลาทองสารพัดสีในตัวเดียวกัน

จาก : http://www.samud.com/aquarium/GoldenFish

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ผลิตภัณฑ์อื่นของโรงพิมพ์ธนบัตร

โรงพิมพ์ธนบัตรได้รับความไว้วางใจให้ผลิตสิ่งพิมพ์มีค่า ได้แก่ อากรแสตมป์ (กรมสรรพากร) แสตมป์สรรพสามิต (กรมสรรพสามิต) ตราไปรษณียากร (บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด) เช็คและใบอนุญาตตลาดการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งสิ่งพิมพ์ดังกล่าวมีการออกแบบที่สวยงาม และมีเทคโนโลยีต่อต้านการปลอมแปลงเฉพาะ ยากต่อการลอกเลียนแบบ สามารถใช้งานได้เหมาะสมกับธุรกรรมประเภทต่าง ๆ โดยโรงพิมพ์ธนบัตรสามารถส่งมอบสิ่งพิมพ์มีค่าได้ครบถ้วนตรงตามกำหนดเวลาและมีบริการลูกค้าสัมพันธ์ ทั้งด้านข้อมูลและกิจกรรมประสานงานต่างๆ

อากรแสตมป์ ใช้ผนึกในตราสาร เช่น หนังสือสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน และหนังสือสัญญากู้ยืม เป็นต้น ใช้กระดาษชนิดพิเศษ พิมพ์ด้วยการพิมพ์เส้นนูน มีลายรหัสลับ และมีการปรุ

แสตมป์สรรพสามิต ได้แก่ แสตมป์สุรา ใช้ผนึกกับขวดสุรา และแสตมป์ยาสูบ ใช้ผนึกกับซองบุหรี่ ตามบทบัญญัติ ที่ใช้ในการเก็บภาษีสรรพสามิต ใช้กระดาษชนิดพิเศษและหมึกพิมพ์พิเศษในการพิมพ์ พิมพ์ด้วยการพิมพ์สีพื้นและเส้นนูน มีการปรุ


ตราไปรษณียากร ส่วนใหญ่จะเป็นตราไปรษณียากรที่ระลึก ซึ่งออกในโอกาสพิเศษต่าง ๆ ใช้กระดาษชนิดพิเศษ พิมพ์ด้วยการพิมพ์ลิโธกราฟฟี่หลายสี มีความละเอียด 300 LPI พิมพ์ด้วยการพิมพ์สีพื้นและเส้นนูน มีการปรุและพิมพ์เลขหมาย ถือเป็นสิ่งพิมพ์มีค่าที่มีความสวยงามและมีขั้นตอนในการผลิตที่ซับซ้อน


เช็คธนาคารแห่งประเทศไทย ใช้กระดาษและหมึกพิมพ์ชนิดพิเศษในการพิมพ์ มีการปรุต้นขั้ว และพิมพ์เลขหมายเพื่อใช้ตรวจสอบจำนวนที่ถูกต้อง


ใบอนุญาตตลาดการเงิน ใช้กระดาษและหมึกพิมพ์ชนิดพิเศษในการพิมพ์
เพื่อต่อต้านการปลอมแปลง


จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงในธนบัตร ตอนที่ 3

๓. ลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงในลวดลายธนบัตร

ลวดลายของธนบัตรประกอบด้วยเส้นที่มีลักษณะคมชัด สวยงาม และมีความละเอียดซับซ้อน โดยเฉพาะภาพประธานด้านหน้าและด้านหลังของธนบัตรซึ่งเป็นภาพที่เกิดจากงานแกะโลหะสำหรับงานพิมพ์เส้นนูนที่มีรายละเอียดมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้ ยังมีลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงอื่น ๆ ในลวดลายธนบัตรอีก อาทิ

๑. ภาพแฝง เป็นตัวเลขที่ซ่อนอยู่ในลวดลายเส้นนูน ไม่สามารถมองเห็นในแนวราบปกติ แต่จะมองเห็นได้เมื่อพลิกเอียงธนบัตรในมุมมองที่เหมาะสม


๒. ตัวเลขและตัวอักษรขนาดจิ๋ว ลวดลายของธนบัตรประกอบด้วยลายเส้นที่มีลักษณะคมชัด สวยงาม และมีความละเอียดซับซ้อนสูง โดยลวดลายบางส่วนออกแบบให้มีตัวเลขหรือตัวอักษรขนาดจิ๋วซ่อนไว้อย่างกลมกลืน เพื่อให้ยากต่อการปลอมแปลง จะมองเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อใช้แว่นขยาย

ตัวเลข 500 ขนาดจิ๋ว จะเห็นได้ชัดเจนเมื่อใช้แว่นขยาย

๓. ภาพซ้อนทับ เกิดจากเครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ภาพได้ทั้งสองด้านในเวลาเดียวกัน ทำให้ลวดลายที่ออกแบบไว้ในตำแหน่งตรงกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังซ้อนทับกันสนิท หรือประกอบกันขึ้นเป็นลวดลายหรือภาพที่สมบูรณ์ สามารถสังเกตได้ด้วยการยกธนบัตรขึ้นส่องดูกับแสงแสงสว่าง


เมื่อส่องกับแสงสว่างลวดลายทั้งสองด้านจะซ้อนทับกันเป็นตัวเลข 100 ที่สมบูรณ์

เมื่อส่องกับแสงสว่างลวดลายทั้งสองด้านจะซ้อนทับกันเป็นรูปดอกพุดตานที่สมบูรณ์

เมื่อส่องกับแสงสว่างลวดลายทั้งสองด้านจะซ้อนทับกันเป็นรูปดอกบัวที่สมบูรณ์

นอกจากลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงที่นำเสนอ ๓ ประการแล้ว ยังเพิ่มลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงและจุดสังเกตสำหรับผู้พิการทางสายตา ดังนี้

๑. แถบฟอยล์สีเงิน ที่ผนึกอยู่บนด้านหน้าธนบัตรมีลักษณะพิเศษ เป็นภาพที่มีมิติเมื่อพลิกเอียงธนบัตรไปมาจะเห็นองค์ประกอบต่าง ๆ ในแถบฟอยล์เคลื่อนไหว และเปลี่ยนสีสันสะท้อนแสงวาววับสวยงาม




๒. ลายดุนนูนแจ้งชนิดราคา เป็นการดุนนูนที่เกิดจากการพิมพ์ สำหรับให้ผู้พิการทางสายตาใช้สัมผัสเพื่อจำแนกชนิดราคาของธนบัตร


จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงในธนบัตร ตอนที่ 2

๒. ลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงในหมึกพิมพ์

หมึกพิมพ์สำหรับใช้พิมพ์ธนบัตร นอกจากจะผลิตให้มีคุณสมบัติพิเศษเหมาะสมกับกระดาษและชนิดของการพิมพ์แล้ว หมึกพิมพ์บางชนิดยังมีคุณสมบัติในการต่อต้านการปลอมแปลง อาทิ

๑. หมึกพิมพ์พิเศษสลับสี เป็นหมึกพิมพ์ซึ่งสามารถเปลี่ยนจากสีหนึ่งสลับเป็นอีกสีหนึ่งเมื่อมองจากต่างมุม สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยการพลิกเอียงธนบัตร

ตัวเลข 500 จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีม่วง

ส่วนบนของตัวเลข 1000 จะเปลี่ยนจากสีทองเป็นสีเขียวอ่อน

๒. หมึกพิมพ์พิเศษเรืองแสง เป็นหมึกพิมพ์ซึ่งสามารถมองเห็นการเรืองแสงเมื่ออยู่ภายใต้รังสีเหนือม่วง หมึกพิมพ์พิเศษเรืองแสงนำมาใช้บริเวณลวดลายสีพื้น หมวดอักษรและเลขหมายของธนบัตรทั้งสองตำแหน่ง

การเรืองแสงของลวดลายสีพื้น หมวดอักษรและเลขหมาย ภายใต้รังสีเหนือม่วง

จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงในธนบัตร ตอนที่ 1

ธนบัตรจัดเป็นสิ่งพิมพ์มีค่าประเภทหนึ่ง ซึ่งมีความพิเศษแตกต่างจากสิ่งพิมพ์มีค่าประเภทอื่น ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องพยายามค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเทคนิคใหม่อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ยากต่อการปลอมแปลงและการลอกเลียนแบบ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการผลิตธนบัตรก็คือ ลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงที่นำมาใช้ ธนบัตรรัฐบาลไทยที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบันประกอบด้วยลักษณะต่อต้านการปลอมแปลง ๓ ประการ ได้แก่

๑. ลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงในวัสดุพิมพ์

วัสดุที่ใช้พิมพ์ธนบัตร ได้แก่ กระดาษธนบัตร ซึ่งเป็นกระดาษชนิดพิเศษ มีใยฝ้ายเป็นส่วนประกอบหลัก มีความเหนียวแกร่ง ทนทานต่อการพับดึง ไม่ยุ่ยง่าย และเนื้อกระดาษไม่เรืองแสงภายใต้รังสีเหนือม่วง (UV) นอกจากคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว ในเนื้อกระดาษธนบัตรยังมีลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงที่สำคัญ ได้แก่

๑. ลายน้ำ สร้างขึ้นเป็นส่วนหนึ่งในเนื้อกระดาษ เกิดจากขั้นตอนการผลิตกระดาษโดยใช้กรรมวิธีพิเศษที่ทำให้เนื้อกระดาษมีความหนา-บางไม่เท่ากัน ทำให้เกิดโทนภาพตามที่ต้องการ สำหรับธนบัตรไทยมีลายน้ำเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่างจะเห็นลายน้ำได้อย่างชัดเจนทั้งด้านหน้าและด้านหลังของธนบัตร โดยภาพที่เห็นจะมีลักษณะไล่ระดับเข้มจางของแสงเงาคล้ายภาพสามมิติ นอกจากนี้ ยังมีลายน้ำรูปลายไทยที่มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษประดับควบคู่ไว้ ซึ่งจะมีรูปลักษณ์แตกต่างกันไปตามชนิดราคาของธนบัตร

ลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และลายน้ำรูปลายไทยในกระดาษธนบัตรแต่ละชนิดราคา


๒. แถบสีโลหะในเนื้อกระดาษ เกิดจากขั้นตอนการผลิตกระดาษโดยใช้กรรมวิธีพิเศษที่ฝังแถบพลาสติกขนาดเล็กเคลือบด้วยสีโลหะไว้ในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง บนแถบจะมีตัวเลขและตัวอักษรขนาดเล็กแจ้งชนิดราคาธนบัตร เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่างจะมองเห็นและอ่านได้ทั้งสองด้าน

ภาพขยายตัวเลขและตัวอักษรแจ้งชนิดราคาบนแถบสีโลหะในเนื้อกระดาษ

๓. เส้นใยเรืองแสง เป็นเส้นใยชนิดพิเศษที่โรยไว้ในเนื้อกระดาษธนบัตรทุกชนิดราคา ซึ่งไม่สามารถมองเห็นในแสงธรรมดา แต่จะมองเห็นเรืองแสงเป็นสีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน เมื่ออยู่ภายใต้รังสีเหนือม่วงหรือรังสีอัลตราไวโอเลต

เส้นใยเรืองแสงที่ปรากฎให้เห็นเมื่ออยู่ภายใต้รังสีเหนือม่วง

จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนบัตรที่ระลึก / บัตรธนาคาร ตอนที่ 12

บัตรธนาคารเนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเจริญพระชนมพรรษาหกสิบบริบูรณ์ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ ทรงฉลองพระองค์ครุย ประทับเหนือ
พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์
ภาพประธานด้านหลัง พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ประทับท่ามกลางพสกนิกร
ขนาด ๑๕.๙ x ๑๕.๙ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๓๐
จ่ายแลก วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๐

จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ธนบัตรที่ระลึก / บัตรธนาคาร ตอนที่ 11

ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ทรงเจริญพระชนมายุ ๙๐ พรรษา วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓






ธนบัตรทั้งสองชนิดราคามีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา ๕๐ บาท
และ ๕๐๐ บาท แบบ ๑๓ ต่างกันที่ลายน้ำเป็นพระฉายาสาทิสลักษณ์
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี คู่กับเลขไทย ๙๐ ซึ่งมีความโปร่งแสง
เป็นพิเศษ ใต้ลายน้ำมีคำว่า สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ๙๐ พรรษา

วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๓๓
จ่ายแลก วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๓

จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนบัตรที่ระลึก / บัตรธนาคาร ตอนที่ 10

ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในวาระครบ ๑๒๐ ปี กระทรวงการคลัง



มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา ๑๐ บาท แบบ ๑๒ ต่างกันที่บริเวณตอนกลางของขอบล่างด้านหน้าธนบัตรมีคำว่า ๑๒๐ ปี กระทรวงการคลัง
วันที่ ๑๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๘

วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๓๘
จ่ายแลก วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๓๘

จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ธนบัตรที่ระลึก / บัตรธนาคาร ตอนที่ 9

ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ





มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท แบบ ๑๔ ต่างกันที่ลายน้ำเป็นพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ใต้ลายน้ำมีคำว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ
วันที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕

วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
จ่ายแลก วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๕


จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ธนบัตรที่ระลึก / บัตรธนาคาร ตอนที่ 8

ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี



มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา ๕๐๐ บาท แบบ ๑๔
ต่างกันที่มีตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี
แทน พระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ ๙
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙
จ่ายแลก วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๓๙



ธนบัตรที่ระลึกแบบพิเศษ มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา ๕๐ บาท
แบบ ๑๓ ต่างกันที่พิมพ์บนวัสดุพอลิเมอร์ และมีตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติ
ครบ ๕๐ ปี แทนลายกระจัง
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๓๙
จ่ายแลก วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๓๙
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ธนบัตร ประเทศออสเตรเลีย



ธนบัตรที่ระลึกแบบพิเศษ ชนิดราคา ๕๐๐ บาท พิมพ์บนวัสดุพอลิเมอร์และผนึกฟอยล์
สีทองพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ไว้มุมขวาบนของธนบัตร
ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ประทับ พระที่นั่งราชยานพุดตานทอง
ภาพประธานด้านหลัง พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ขณะทรงงาน และภาพเรื่องราว
เกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริด้านต่าง ๆ
ขนาด ๙.๑ x ๑๗.๑ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๓๙
จ่ายแลก วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๓๙
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ธนบัตร ประเทศออสเตรเลีย


จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ธนบัตรที่ระลึก / บัตรธนาคาร ตอนที่ 7

ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒




มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท แบบ ๑๕
ต่างกันที่มีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
แทน พระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ ๙

วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๒
จ่ายแลก วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒

จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนบัตรที่ระลึก / บัตรธนาคาร ตอนที่ 6

ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี ธนบัตรไทย



ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดช คู่กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในฉลองพระองค์ชุดสากล
ภาพประธานด้านหลัง มีลักษณะเช่นเดียวกับธนบัตรแบบ ๑ ชนิดราคา ๑๐๐ บาท
ขนาด ๑๐.๕ x ๑๖.๕ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๕
จ่ายแลก วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๕

จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ธนบัตรที่ระลึก / บัตรธนาคาร ตอนที่ 5

ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ และพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในฉลองพระองค์ชุดไทยศิวาลัย
ภาพประธานด้านหลัง พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในฉลองพระองค์ชุดไทยจักรี
ขนาด ๗.๒ x ๑๖.๒ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๗
จ่ายแลก วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๗

จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย