วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ธนบัตรที่ระลึก / บัตรธนาคาร ตอนที่ 1

ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในอภิลักขิตสมัยมหามงคลวันราชาภิเษกสมรส
และวันบรมราชาภิเษกครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๕๓





ธนบัตรที่ระลึกชนิดราคา ๑๐๐ บาท ด้านหน้ามีลักษณะ สี และขนาดเหมือนกับธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐ บาท ซึ่งใช้หมุนเวียนในปัจจุบัน ปรับเปลี่ยนเฉพาะ ด้านหลังธนบัตรเป็นเรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องกับการราชาภิเษกสมรส และการบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ


ภาพประธานด้านหลัง เชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขณะทรงโบกพระหัตถ์ และพระฉายาสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ ตอนล่างของธนบัตรมีข้อความ "ราชาภิเษกสมรสครบ ๖๐ ปี ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓" และ "บรมราชาภิเษกครบ ๖๐ ปี ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓"

ภาพประกอบด้านหลังธนบัตร เชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหลั่งทักษิโณทกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประดับด้วยลายดอกพิกุล 6 ดอก สื่อความหมายถึง การบรมราชาภิเษกครบ ๖๐ ปี โดยในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรยดอกพิกุลเงิน ดอกพิกุลทอง พระราชทานแก่พราหมณ์และพระบรมวงศานุวงศ์ตามคติความเชื่อที่ว่าพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประธานในพระราชพิธีนั้นเปรียบเสมือนสมมติเทพที่อุบัติลงมาจากสวรรค์ บริเวณพระราชมนเทียรจึงถือว่าเป็นดุจสวรรค์ ต้นพิกุลเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งในอุทยานบนสวรรค์ ดังนั้น ในระหว่างการประกอบ พระราชพิธีจึงมีการโปรยดอกพิกุลซึ่งเปรียบเหมือนดอกไม้สวรรค์ และเป็นดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งสมบูรณ์ เพื่อเป็นการให้สิ่งที่เป็นมงคลในพระราชพิธี

เบื้องซ้ายมุมบน เชิญพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ ๙ พิมพ์บนธงชาติไทย สื่อความหมายถึง ความเป็นชาติไทย ซึ่งประกอบด้วย สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

เบื้องซ้ายมุมล่าง เชิญพระปฐมบรมราชโองการ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถือเป็นพระราชปณิธานอันแน่วแน่และสำคัญยิ่ง ดังที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครองราชอาณาจักรไทยโดยทศพิธราชธรรมจริยาดังพระปฐมบรมราชโองการที่พระราชทานไว้ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓

ขนาด ๗.๒๐ x ๑๕.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๓
จ่ายแลก วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓

จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วิธีสังเกตธนบัตร

ธนบัตรเป็นสิ่งพิมพ์มีค่าประเภทหนึ่ง มีความพิเศษแตกต่างจากสิ่งพิมพ์มีค่าประเภทอื่น เพราะนอกจากลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงที่ต้องบรรจุไว้ในพื้นที่พิมพ์อันจำกัดแล้ว ลวดลายในธนบัตรยังต้องมีคุณค่าทางศิลปะ มีความประณีตสวยงาม และเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย ดังนั้น เพื่อคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือสมเป็นสื่อกลางสำหรับใช้ในการแลกเปลี่ยน ธนบัตรต้องมีลักษณะพิเศษที่ยากต่อการปลอมแปลง แต่ประชาชนสามารถสังเกตจดจำได้ดี และแยกแยะความแตกต่าง ด้วยวิธีสังเกตง่าย ๆ ๓ วิธี ได้แก่ สัมผัส ยกส่อง และพลิกเอียง อย่างไรก็ดี เพื่อความมั่นใจจึงควรสังเกตจุดสำคัญต่าง ๆ บนธนบัตรอย่างน้อย ๓ จุด ขึ้นไป สำหรับธนบัตรแบบที่ใช้ในปัจจุบัน ดังวีดีทัศน์วิธีสังเกตธนบัตรนี้



จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิธีตรวจสอบธนบัตร ตอนที่ 6

ธนบัตรชนิดราคา ๒๐ บาท แบบ ๑๕


จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วิธีตรวจสอบธนบัตร ตอนที่ 5

ธนบัตรชนิดราคา ๕๐ บาท แบบ ๑๕


จาก : www.bot.or.th ธนาคารแห่งประเทศไทย

วิธีตรวจสอบธนบัตร ตอนที่ 4

ธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐ บาท แบบ ๑๕ (ปรับปรุง)


จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิธีตรวจสอบธนบัตร ตอนที่ 2

ธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท แบบ ๑๕
ปรับปรุง (มีแถบฟอยล์)



จาก : www.bot.or.th ธนาคารแห่งประเทศไทย

วิธีตรวจสอบธนบัตร ตอนที่ 1

ธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท แบบ ๑๕
(ไม่มีแถบฟอยล์)



จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนบัตรแบบต่างๆ ตอนที่ 16.2

ธนบัตรแบบ ๑๕ (ต่อ)



(รุ่นหนึ่ง) ลักษณะเหมือนกับธนบัตรแบบ ๑๔ แต่มีแถบฟอยล์สีเงินด้านหน้าธนบัตร
ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และภาพการศึกษาของไทย
ขนาด ๗.๒๐ x ๑๕.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๗
จ่ายแลก วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๗



(รุ่นสอง) แบบปรับปรุง เปลี่ยนภาพประธานด้านหลัง
ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบเต็มยศทหารเรือ และภาพพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการเลิกทาส
ขนาด ๗.๒๐ x ๑๕.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๘
จ่ายแลก วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๘



ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ภาพโลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร
และภาพเรือสำเภา
ขนาด ๗.๒๐ x ๑๕.๖๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๔
จ่ายแลก วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๔



(รุ่นหนึ่ง)
ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภาพเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และภาพเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่
ขนาด ๗.๒๐ x ๑๖.๒๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๒
จ่ายแลก วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒



(รุ่นสอง) แบบปรับปรุง เพิ่มฟอยล์สีเงินด้านหน้าธนบัตร
ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภาพเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และภาพเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่
ขนาด ๗.๒๐ x ๑๖.๒๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘
จ่ายแลก วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘

จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ธนบัตรแบบต่างๆ ตอนที่ 16.1

ธนบัตรแบบ ๑๕

ธนบัตรแบบนี้ยังคงมีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรีที่ทรงพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ และปรับขนาดความกว้างของธนบัตรให้เท่ากันทุกชนิดราคา เพื่อความสะดวกในการพกพา มี ๕ ชนิดราคา ได้แก่ ๒๐ บาท ๕๐ บาท ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท และ ๑๐๐๐ บาท



ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อานันทมหิดล ภาพพระราชกรณียกิจเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินที่สำเพ็ง
และภาพสะพานพระราม ๘
ขนาด ๗.๒๐ x ๑๓.๘๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
จ่ายแลก วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๖



(รุ่นหนึ่ง) พิมพ์บนวัสดุพอลิเมอร์
ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ภาพลูกโลกดาว
กล้องโทรทรรศน์ และภาพพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
ขนาด ๗.๒๐ x ๑๔.๔๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๐
จ่ายแลก วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๐



(รุ่นสอง) แบบปรับปรุง พิมพ์บนกระดาษ
ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ภาพลูกโลกดาว
กล้องโทรทรรศน์ และภาพพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
ขนาด ๗.๒๐ x ๑๔.๔๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๗
จ่ายแลก วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗

จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ธนบัตรแบบต่างๆ ตอนที่ 15

ธนบัตรแบบ ๑๔

มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี ที่ทรงพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ มี ๓ ชนิดราคา ได้แก่ ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท และ ๑๐๐๐ บาท


ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขนาด ๗.๒๐ x ๑๕.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๓๗
จ่ายแลก วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๓๗



ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ เชิงเขาแก่นจันทร์ จ.ราชบุรี และพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ วัดอัมพวันเจติยาราม จ.สมุทรสงคราม
ขนาด ๗.๒๐ x ๑๕.๖๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙
จ่ายแลก วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๙



ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขณะเสด็จพระราชดำเนิน
ทอดพระเนตรที่สร้างฝายและอ่างเก็บน้ำ ณ บ้านบากง อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส
ขนาด ๘.๐๐ x ๑๖.๖๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
จ่ายแลก วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๕


จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ธนบัตรแบบต่างๆ ตอนที่ 14

ธนบัตรแบบ ๑๓

มีจุดมุ่งหมายเพื่อร่วมเฉลิมฉลองงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี จึงนำภาพเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่สำคัญ ๆ นับแต่แรกสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง และการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยมาเป็นภาพประธานด้านหลัง มี ๒ ชนิดราคา ได้แก่ ๕๐ บาท และ ๕๐๐ บาท



ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ ทรงฉลองพระองค์ครุย
ภาพประธานด้านหลัง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ณ อาคารรัฐสภา และพระที่นั่งอนันตสมาคม
ขนาด ๗.๒๐ x ๑๔.๔๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๒๘
จ่ายแลก วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๒๘




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง
ขนาด ๘.๐๐ x ๑๖.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๓๐
จ่ายแลก
วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๐


จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนบัตรแบบต่างๆ ตอนที่ 13

ธนบัตรแบบ ๑๒

เป็นธนบัตรที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแผ่พระเกียรติคุณของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ได้รับการถวายพระราชสมัญญาภิไธย "มหาราช" จึงได้เชิญพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการเทิดพระเกียรติดังกล่าว มาเป็นภาพประธานด้านหลังของธนบัตร มี ๓ ชนิดราคา ได้แก่ ๑๐ บาท ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาท



ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว
ณ ลานพระราชวังดุสิต
ขนาด ๖.๙๐ x ๑๓.๒๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๒๓
จ่ายแลก วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๒๓




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ณ สวนสาธารณะทุ่งนาเชย จ. จันทบุรี
ขนาด ๗.๒๐ x ๑๓.๘๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๔
จ่ายแลก วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๒๔




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ จ. สุพรรณบุรี
ขนาด ๘.๐๐ x ๑๕.๔๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๒๑
จ่ายแลก วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๒๑

จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ธนบัตรแบบต่างๆ ตอนที่ 12

ธนบัตรแบบ ๑๑

เป็นธนบัตรที่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทยมากขึ้น ด้วยการนำลายไทย สถาปัตยกรรมไทย ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นเป็นศิลปะประจำชาติมาเป็นองค์ประกอบสำคัญของธนบัตร นอกจากนี้ ยังมีลักษณะสำคัญคือ ภาพประกอบด้านหน้ามีความสัมพันธ์กับภาพประธานด้านหลัง ธนบัตรแบบสิบเอ็ด มี ๕ ชนิดราคา ได้แก่ ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท และ ๕๐๐ บาท


ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย
ภาพประธานด้านหลัง พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
ขนาด ๖.๗๕ x ๑๓.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๑๒
จ่ายแลก วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๒



ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย
ภาพประธานด้านหลัง พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
ขนาด ๗.๐๐ x ๑๓.๕๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๑๒
จ่ายแลก วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๒



ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย
ภาพประธานด้านหลัง เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
ขนาด ๗.๒๕ x ๑๔.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๑๔
จ่ายแลก วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๑๔



ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย
ภาพประธานด้านหลัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
ขนาด ๗.๗๕ x ๑๕.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๑๕
จ่ายแลก วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๑๕



ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย
ภาพประธานด้านหลัง พระปรางค์สามยอด ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
ขนาด ๘.๒๕ x ๑๖.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๑๘
จ่ายแลก วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๘


จาก : http://www.bot.or.th/ ธนาคารแห่งประเทศไทย